เลี้ยงนก

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

สุขภาพ/อาหาร
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009




ไข้ หวัดตัวนี้เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่เคยพบกันมา เพียงแต่มีลักษณะที่ไม่เหมือนในอดีต โดยประกอบด้วยส่วนผสมของเชื้อไหวัดที่พบในคน ในทวีปอเมริกาเหนือและในหมู อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แม้จะมีไวรัสไข้หวัดหมูรวมสายพันธุ์อยู่ด้วย แต่การบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมูจะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ติดต่อด้วยการกิน นอกจากนี้เชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อโรคอื่นๆ มักจะถูกทำลาย ได้ด้วยความร้อนตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป ฉะนั้นเมื่อจะรับประทานเนื้อหมูควรปรุงให้สุกดี อย่ากินดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ ไม่ใช่เพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่แต่ป้องกันโรคพยาธิและเชื้อโรคชนิดอื่นๆ
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมทั้งไข้หวัดใหญ่ทั่วไปแพร่เชื้อโรคผ่านสิ่งคัดหลั่ง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ โดยหากคนเราไม่มีการดูแลรักษาความสะอาด หรือขาดมีการเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยที่ดีก็อาจมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ง่าย และสามารถเป็นพาหะนำพาเชื้อไว้รัสไปสู่ผู้อื่น

อาการบ่งชี้ว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ คือมีอาการไข้ ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ จาม เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมี อาการท้องร่วง สำหรับผู้มีร่างกายอ่อนแอ และเป็นโรคประจำอยู่ก่อน เช่นเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจหากติดเชื้อโรคนี้อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นได้

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไปอาการบ่งชี้ว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
  1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
  2. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
  4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น
  6. ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด


คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่
  1. หาก มีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ
  2. ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น หรือใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม
  4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม
  5. หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์


คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา
  1. แนะนำให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพัก หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์
  2. ตรวจ สอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนในแต่ละวัน หากพบขาดเรียนผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในห้องเรียนเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค
  3. แนะนำให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน
  4. หาก สถานศึกษาสามารถให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ทุกคนหยุดเรียน ได้ ก็จะป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดี และไม่จำเป็นต้องปิดสถานศึกษา แต่หากจะพิจารณาปิดสถานศึกษา ควรหารือร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
  5. ควร ทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะเรียน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่ อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง


คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน
  1. แนะนำให้พนักงานที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์
  2. ตรวจ สอบจำนวนพนักงานที่ขาดงานในแต่ละวัน หากพบขาดงานผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ในแผนกเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค
  3. แนะนำให้พนักงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน
  4. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่แนะนำให้ปิดสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
  5. ควร ทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะทำงาน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกทั่วไปเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง
  6. ควร จัดทำแผนการประคองกิจการในสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง หากเกิดการระบาดใหญ่ (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th)


คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน
กรุงเทพมหานคร :
ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
0-2245-8106 , 0-2246-0358 และ 0-2354-1836
ต่างจังหวัด :
ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น