เลี้ยงนก

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ หก

1. สอนเกี่ยวกับการทำผังงาน
2. สั่งงานแบบฝึกหัดให้เขียน Flowhart

สัปดาห์ที่ สี่

1.ไหว้ครู

สัปดาห์ที่ สาม

1. สั่งให้ตรวจงานที่ทำในสัปดาห์ที่ 2
2. สั่งให้นำเมล์ไปใส่ในบล็อกของอาจารย์
3. สอบเก็บคะแนน เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมและอัลกอริทึม

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

สุขภาพ/อาหาร
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009




ไข้ หวัดตัวนี้เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่เคยพบกันมา เพียงแต่มีลักษณะที่ไม่เหมือนในอดีต โดยประกอบด้วยส่วนผสมของเชื้อไหวัดที่พบในคน ในทวีปอเมริกาเหนือและในหมู อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แม้จะมีไวรัสไข้หวัดหมูรวมสายพันธุ์อยู่ด้วย แต่การบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมูจะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ติดต่อด้วยการกิน นอกจากนี้เชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อโรคอื่นๆ มักจะถูกทำลาย ได้ด้วยความร้อนตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป ฉะนั้นเมื่อจะรับประทานเนื้อหมูควรปรุงให้สุกดี อย่ากินดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ ไม่ใช่เพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่แต่ป้องกันโรคพยาธิและเชื้อโรคชนิดอื่นๆ
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมทั้งไข้หวัดใหญ่ทั่วไปแพร่เชื้อโรคผ่านสิ่งคัดหลั่ง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ โดยหากคนเราไม่มีการดูแลรักษาความสะอาด หรือขาดมีการเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยที่ดีก็อาจมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้ง่าย และสามารถเป็นพาหะนำพาเชื้อไว้รัสไปสู่ผู้อื่น

อาการบ่งชี้ว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่พบตามปกติ คือมีอาการไข้ ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ จาม เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมี อาการท้องร่วง สำหรับผู้มีร่างกายอ่อนแอ และเป็นโรคประจำอยู่ก่อน เช่นเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจหากติดเชื้อโรคนี้อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นได้

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไปอาการบ่งชี้ว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
  1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
  2. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
  4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น
  6. ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด


คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่
  1. หาก มีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ
  2. ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น หรือใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม
  4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม
  5. หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์


คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา
  1. แนะนำให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพัก หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์
  2. ตรวจ สอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนในแต่ละวัน หากพบขาดเรียนผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในห้องเรียนเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค
  3. แนะนำให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน
  4. หาก สถานศึกษาสามารถให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ทุกคนหยุดเรียน ได้ ก็จะป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดี และไม่จำเป็นต้องปิดสถานศึกษา แต่หากจะพิจารณาปิดสถานศึกษา ควรหารือร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
  5. ควร ทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะเรียน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่ อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง


คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน
  1. แนะนำให้พนักงานที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์
  2. ตรวจ สอบจำนวนพนักงานที่ขาดงานในแต่ละวัน หากพบขาดงานผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ในแผนกเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค
  3. แนะนำให้พนักงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน
  4. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่แนะนำให้ปิดสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
  5. ควร ทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะทำงาน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกทั่วไปเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง
  6. ควร จัดทำแผนการประคองกิจการในสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง หากเกิดการระบาดใหญ่ (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th)


คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน
กรุงเทพมหานคร :
ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
0-2245-8106 , 0-2246-0358 และ 0-2354-1836
ต่างจังหวัด :
ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาทักษะ 5 ด้าน

การพัฒนาการเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาที่เรียนกับครูจันทร์เพ็ญ เป็นผู้มี:

1) IQ (Intelligence Quotient ) การพัฒนาให้ผู้เรียน ทักษะกรบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดขึ้น ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
2) EQ (Emotion Quatient) การพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองและมีความมั่นคงทางอารมณ์
3)TQ (Technology Quotient) การพัฒนาความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีและรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆให้เหมาะสมกับความต้องการ
4) AQ (Adversity Quotient) การพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนและการเผชิญสภาพปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้
5) MQ(Morality Quotient) ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้เรียนมีจิตใจงดงาม รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีและอยู่ในสังคม ความรู้ (Knowledge -based sociaty ) ได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เปลี่ยนชื่อเป็นเลขฐาน

กัมปนาท ปุ่นอภิรัตน์
10100001110100011100000110111011101110011101001010110111101110111101100011101000101110011100110111000000110101001100001111010001101101011011100111101100

งานสร้างบ้าน

#include
#include
main()
{
clrscr();
printf(" .\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\.\n");
printf(" . .\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\.\n");
printf(" . .\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\.\n");
printf(" ........\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\.\n");
printf(" . . .\n");
printf(" . .... . ....... .\n");
printf(" . . . . . . .\n");
printf(" . . . . ....... .\n");
printf(" ................................\n");
getch();
return 0;
}

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ ๔
1.มีงานพิธีไหว้ครูประจำปี 2552
2.มีงานทอดผ้าป่าของวิทยาเทคนิคสมุทรสงคราม เพื่อ สร้างอาคารอเนกประสงค์

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

"หนุ่มๆแสดงอาการรักอย่างไร"

"หนุ่มๆแสดงอาการรักอย่างไร"
ดร.ดักลาส ไวส์ ผู้เขียน "Intimacy : A 100 Day Guide to Lasting Relationships" (แปลว่า ความสัมพันธ์แนบแน่น : แนะแนวทาง 100 วันที่จะรักษาความสัมพันธ์ให้คงอยู่ยาวนาน)
เค้าบอกว่า "จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายจะไม่ใช้คำพูดในการแสดงออกถึงอารมณ์
สมองของผู้ชายเป็นระบบงาน เขาจึงมักแสดงออกถึงความรู้สึกทางการกระทำ"
แล้วจะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่าหนุ่มๆของคุณแสดงความรักต่อคุณ?

1. เขาให้คุณยืมข้าวของสมบัติอันมีค่าของเขา
ทั้งๆที่เขาก็รู้ว่าคุณอาจทำมันหายหรือพัง แต่เขาก็เต็มใจที่จะสละให้ เพราะเขาต้องการที่จะแสดงว่าเขาไว้ใจและแคร์คุณอย่างมากมาย
เช่น ยืมมือถือ , ยืมรถ , ยืมโน้ตบุ้ค หรือยืมกล้อง ฯลฯ

2. เขาอยากให้คุณปลอดภัย ยามไกลตา
เขาต้องให้คุณโทรหาเขาทุกครั้งที่ก้าวเข้าเหยียบประตูบ้าน เพื่อเช็คความปลอดภัย
หรือจดทะเบียนรถแท็กซี่ทุกคัน ทุกครั้งที่คุณขึ้นกลับบ้าน
หรือโทรหาคุณ เวลาที่คุณขาดการติดต่อกับเค้านานๆ
หรือกระวนกระวายใจ เมื่อมือถือคุณไม่สามารถติดต่อได้ ระหว่างเดินทางกลับบ้าน

3. เขาพร้อมจะถ่ายรูปคู่กับคุณ
ผู้ชายส่วนใหญ่มักไม่ลงรอยกับกล้อง เพราะว่าเค้าเขินกล้องและการต้องแอ็คท่า
และผู้ชายบางคนก็ไม่อยากผูดมัดตัวเองกับการถ่ายรูปคู่กับหญิงสาว เพราะเขาไม่อยากให้คนอื่นมาเห็นรูป แล้วคิดว่าเขามีแฟนแล้ว
แต่ถ้าเมื่อไหร่ ที่มีคนคว้ากล้องขึ้นมาในงานปาร์จี้ แล้วหนุ่มของคุณกระโดดเข้ามาโอบไหล่คุณและยิ้มอย่างเต็มใจ
มันคือ สัญญาณว่าเขาจริงจังกับคุณจริงๆ เขาอยากประกาศให้ทั้งโลกรู้ว่าคุณคือสาวของเขา
แล้วจะยิ่งลึกซึ้งมากขึ้น ถ้าเขานำเอารูปคู่ไปวางไว้ที่ออฟฟิศหรือที่บ้าน
(มีในมือถือแทนละกันนะ)

4. เขาใส่เสื้อที่คุณชม
ถ้าผู้หญิงที่เขาคลั่งส่งสัญญาณว่าเธอยอมรับเขาเรื่องการแต่งตัว
เขาจะตื่นเต้นและตื้นตัน เขาจะแสดงออกถึงความซาบซึ้งด้วยการใส่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
(แต่อาจจะใช้ไม่ได้กับคนที่มีเสื้อเพียงไม่กี่ตัวในตู้เสื้อผ้านะ อิอิ)

5. เขานั่งเคียงข้างคุณ เมื่อออกไปกินอาหารด้วยกัน
ในการเดทดินเนอร์ครั้งแรกๆ หนุ่มของคุณก็อาจจะทำแบบที่เป็นปกติ คือ การนั่งตรงข้าม เพราะเขาอยากเห็นหน้าคุณ
แต่หนุ่มที่มีความรัก จะนั่งข้างๆคุณ เพราะนั่นคือความใกล้ชิดทางร่างกายที่แสดงถึงความผูกพันกับคุณ
แถมการนั่งแบบนี้แสดงถึงสัญชาตญาณความหวงก้างของผู้ชายอีกด้วย
(บางครั้งการนั่งข้างกัน ก็ต้องดูขนาดของที่นั่งด้วยนะ....บางทีมันก็อึดอัดอ่า....แหะๆ แต่ก็อบอุ่นดีจ้ะ)

6. เขาแชร์อาหารกับคุณ
การแบ่งอาหารให้ใครซักคนแม้เพียงนิดเดียว เป็นการกระทำที่อ่อนโยน
เป็นกริยาที่สัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งมนุษย์จะกระทำเพื่อแสดงออกถึงความห่วงใยและความรัก
และยิ่งถ้าเขาป้อนให้ถึงปาก คิดได้เลยว่า นั่นคือ สิ่งบ่งบอกว่าความรู้สึกของเขานุ่มนวลกับคุณอย่างยิ่ง
(การป้อนกันก็น่ารักดี แต่อาจทำให้เพื่อนร่วมโต๊ะ หรือโต๊ะอื่นๆตาลุกเป็นไฟได้)

7. เขาปัดไรผมที่รุ่ยร่ายปิดหู ปิดตาคุณ
การปัดผมให้อย่างไม่รู้ตัวแสดงถึงสัญชาตญาณความเป็นเจ้าของ
มันส่งสัญญาณถึงคนรอบข้างว่าเขาคือแฟนตัวจริงของคุณ
(อย่าปัดแรงนะ เด๋วจะนึกว่าตบหัวแฟนแทน อ่อ....แล้วเวลาปัดผมอ่ะ อย่าเอานิ้วไปจิ้มหน้าเธอบ่อยนักล่ะ
เพราะมือของคุณสกปรก พอที่จะทำให้หน้าใสๆของเธอเป็นสิวได้)

Tips : ประโยคต่อไปนี้ของผู้ชายมีความหมายว่า "ผมรักคุณ"
* แน่นอน ผมจะขับรถไปส่งคุณที่แอร์พอร์ต
* แค่โทรมาถามว่าคุณเป็นไงบ้าง
* ผมไม่รู้ว่าผมจะมีชีวิตอยู่ยังไง โดยไม่มีคุณ
* คุณจะเป็นแม่ที่ยอดเยี่ยมในอนาคต


--------------------------------------------------------------------------------
โอย......เหนื่อยมาก แต่ว่าตรงใจ เลยพิมพ์มาให้อ่านกัน
แถมคอสโมนี่ทำเราตาร้อนด้วยอ่ะ ...เพราะว่ามีเพื่อนเราได้รางวัลไปเที่ยวทะเลกับหนังสือด้วย
ที่ตาร้อนก็เพราะ แฟนมันไปขอแต่งงานที่นั่นน่ะซี้........แง๊ววววววว ไรว๊า....

คุณลักษณะของภาษา จุดเด่น จุดด้อย ของภาษา C

คุณลักษณะของภาษา จุดเด่น จุดด้อย และตัวอย่างของภาษาฟอร์แทรน

ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN - FORmula TRANslation) จัดได้ว่าเป็นภาษาระดับสูงภาษาแรกของโลก พัฒนาในปี ค.ศ. 1954 โดยทีมนักคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) นำทีมโดย จอห์น แบค

คัส (John Backus) โดยแนะนำออกมาสองรุ่น คือ FORTRAN II และ FORTRAN IV ต่อมาได้พัฒนาภาษา เป็นมาตรฐานรุ่นแรก เรียกว่า FORTRAN-66 ภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาที่ เหมาะสมกับงาน

คำนวณ มาก จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวิศวกร นักสถิติและนักวิจัย ในการคำนวณจะมีฟังก์ชันต่างๆ ไว้ให้เรียกใช้ได้เต็มที่ เช่น การหารากที่สอง การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น แต่ไม่สามารถสั่งพิมพ์ผลหรือรายงานได้ดีเหมือนภาษาโคบอล แต่ อย่างไรก็ตามยังมีข้อบกพร่อง อีกหลายประการ เช่น ไม่สามารถกำหนดชนิดข้อมูล ไม่สามารถทำงานกับ ข้อมูลประเภทสายอักขระ และไม่มีคำสั่งที่สามารถกำหนด โครงสร้างได้เหมาะสม จึงมีการปรับปรุงแก้ไข และออกมาเป็น FORTRAN-77 และ FORTRAN-88 ซึ่งยังมีใช้จนถึงปัจจุบัน
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2551 11:24

ประวัติของภาษา C

ค.ศ. 1970 มีการพัฒนาภาษา B โดย Ken Thompson ซึ่งทำงานบนเครื่อง DEC PDP-7
ซึ่งทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไม่ได้และยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่
(ภาษา B สืบทอดมาจากภาษา BCPL ซึ่งเขียนโดย Marth Richards)
ค.ศ. 1972 Dennis M. Ritchie และ Ken Thompson ได้สร้างภาษา C
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภาษา B ให้ดียิ่งขึ้น

ในระยะแรกภาษา C ไม่เป็นที่นิยมแก่นักโปรแกรมเมอร์โดยทั่วไปนัก
ค.ศ. 1978 Brian W. Kernighan และ Dennis M. Ritchie
ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The C Programming Language
และหนังสือเล่มนี้ทำ ให้บุคคลทั่วไปรู้จักและนิยมใช้ภาษา C ในการเขียนโปรแกรมมากขึ้น
แต่เดิมภาษา C ใช้ Run บนเครื่องคอมพิวเตอร์ 8 bit ภายใต้ระบบปฏิบัติการ CP/M ของ IBMPC
ซึ่งในช่วงปี ค. ศ. 1981 เป็นช่วงของการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ภาษา C
จึงมีบทบาทสำ คัญในการนำ มาใช้บนเครื่อง PC ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และมีการพัฒนาต่อมาอีกหลาย ๆ ค่าย

ดังนั้นเพื่อกำ หนดทิศทางการใช้ภาษา C ให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน ANSI
(American National StandardInstitute) ได้กำหนดข้อตกลงที่เรียกว่า 3J11
เพื่อสร้างภาษา C มาตรฐานขึ้นมา เรียนว่า ANSI C
ค.ศ. 1983 Bjarne Stroustrup แห่งห้องปฏิบัติการเบล (Bell Laboratories)
ได้พัฒนาภาษา C++ ขึ้นรายละเอียดและความสามารถของ C++ มีส่วนขยายเพิ่มจาก C
ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

แนวความคิดของการเขียนโปรแกรมแบบกำหนดวัตถุเป้าหมายหรือแบบ OOP
(Object Oriented Programming) ซึ่งเป็นแนวการเขียนโปรแกรมที่เหมาะกับการ
พัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนมาก มีข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรมจำนวนมาก
จึงนิยมใช้เทคนิคของการเขียนโปรแกรมแบบ OOP ในการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้

ดเริ่มต้นของภาษาซี
ภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Labs โดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPL ซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ UNIX และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า "The C Programming Language" โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้ ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า "ANSI C"


Dennis Ritchie

ภาษา ซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก กล่าวคือ สามารถทำงานกับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้ เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับ

เหตุผลที่ควรเรียนภาษาซี
ก็ เนื่องจากภาษาซีเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่ ยาก อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก เช่น C++, Perl, JAVA เป็นต้น

จาก C สู่ C++
ถูกพัฒนาโดย Bjarne Stroustrup แห่ง Bell Labs โดยได้นำเอาภาษา C มาพัฒนาและใส่แนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ OOP (Object Oriented Programming) เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นที่มาของ C++ ก็คือ นำภาษา C มาพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


Bjarne Stroustrup

จำเป็นไหม? ที่ต้องเรียนภาษา C ก่อน เรียน C++ เลยไม่ได้เหรอ?
คำ ตอบก็คือ คุณจะเรียน C++ เลยก็ได้ครับ โดยไม่ต้องศึกษาภาษา C มาก่อน แต่ถ้าคุณเข้าใจหลักการทำงาน และการเขียนโปรแกรมภาษา C แล้วจะสามารถต่อยอด C++ ได้เร็วกว่า อีกทั้งยังสามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก ซึ่งในบทความในช่วงแรกผมจะนำเสนอหลักและแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษา C ก่อนนะครับ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในพื้นฐานก่อนนะครับ

ต่อไปจะขอเกริ่นถึงการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างสักเล็กน้อยก่อนนะครับ แล้วก็จะเริ่มเข้ากระบวนการการเขียนโปรแกรมกัน

ลักษณะโปรแกรมแบบโครงสร้าง
การ เขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) ก็คือ การนำโครงสร้างของคำสั่งหลายๆ รูปแบบ นำมาใช้ในโปรแกรม โดยจะมีการใช้คำสั่งลักษณะ goto ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง ก็มี ภาษา C, Pascal และ Cobol เป็นต้นครับ ผมจะยกตัวอย่างในภาษา C ในรูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างให้ดูดังด้านล่างนะครับ

โค้ตภาษา c

1.//kampanat.c
2.#include
3.main()
4.{
5. pintf(" 92 M 6 Praknamdang Ampawa Samutsongkam");
6.}

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ส่งงานสัปดาห์ที่สาม

1.ตรวจแบบฝึกหัด 4 ข้อ
2.อาจารย์บอกประสบการณ์ในเข้าห้องสอบ
3.เพิ่มลิงค์ที่เครื่องอาจารย์
4.สอบบทที่1

สัปดาห์ที่สอง

1.เรียนบทที่1
2.สอนตามหนังสือ
3.ให้ทำแบบฝึกหัด 4 ข้อ
4.แล้วส่งในคาบ

ส่งงานสัปดาห์แรก

1. แนะนำตัวครับ
2.สมัคร Gmail.com
3.ให้สร้าง Blogger เป็นของตัวเอง